การค้นพบไดโนเสาร์ครั้งแรก

การค้นพบไดโนเสาร์ครั้งแรก

ใครเป็นผู้พบซาก หรือฟอสซิลไดโนเสาร์คนแรกของโลก ใครเป็นผู้ค้นพบไดโนเสาร์เป็นคนแรก - ในปี 1822 นายแพทย์ชาวอังฤกษชื่อ Gideon Mantell และภรรยาได้ค้นพบฟันขนาดใหญ่ถูกฝังอยู่ในหิน ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับฟันของอิกัวน่า เขาเชื่อว่าน่าจะเป็นฟันของสัตว์เลื้อยคลานชนิดใดชนิดหนึ่งที่สูญพันธ์ไปแล้วจึงตั้งชื่อกระดูกชิ้นนี้ว่า อิกัวโนดอน (Iguanodon) ซึ่งหมายถึงฟันของอิกัวน่านั่นเอง หลังจากนั้นคนก็เริ่มเรียกเจ้าของฟันชิ้นนี้ว่า อิกัวโนดอน ตามนายแพทย์ผู้ค้นพบ แล้วคำว่า “ไดโนเสาร์” เกิดขึ้นได้อย่างไร – หลังจากการค้นพบอิกัวโนดอนแล้ว นักชีววิทยาเกี่ยวพืชและสัตว์โบราณชาวอังกฤษ Richard Owen ได้ค้นคว้าเพิ่มเติมพบว่าสัตว์ประเภทนี้ลักษณะพิเศษที่แตกต่างจากสัตว์เลื้อยคลานทั่วไปคือ ร่างกายที่ใหญ่ผิดปกติและสามารถเดินโดยลำตัวตั้งตรงได้ จึงคิดว่าควรแยกสัตว์ประเภทนี้เป็นอีกประเภทต่างหาก เขาจึงเรียกพวกมันว่า “Dinosaur” ซึ่งมาจาก deinos หมายถึงใหญ่โตผิดปกติและ sauros ซึ่งหมายถึงสัตว์เลื้อยคลานในภาษากรีก บรรพบุรุษของไดโนเสาร์คืออะไร – บรรพบุรุษสายตรงของไดโนเสาร์นั้นยังไม่ทราบอย่างแน่ชัด อย่างไรก็ตามจากการวิจัยทั้งสัตว์ที่ยังมีชีวิตอยู่และฟอลซิล นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าบรรพบุรุษของไดโนเสาร์คือ สัตว์เลื้อยคลานที่เรียกว่า thecodonts ซึ่งจระเข้ที่พบเห็นในปัจจุบันและสัตว์เลื้อยคลานที่บินได้จำพวก pterosaur (สูญพันธ์ไปแล้ว) มีบรรพบุรุษร่วมกันกับไดโนเสาร์ ตอนแรก thecodonts ไม่ได้มีขนาดใหญ่มากนัก และใช้ชีวิตอยู่บนบกจากนั้นค่อยเริ่มวิวัฒนาการลงไปในน้ำ เริ่มว่ายน้ำได้ จากนั้นก็พัฒนากล้ามเนื้อให้แข็งแรงขึ้นและกลับมาอยู่บนบกได้อีกครั้ง...

ซากดึกดำบรรพ์

ซากดึกดำบรรพ์

ซากดึกดำบรรพ์ ซากดึกดำบรรพ์ หรือ บรรพชีวิน หรือ ฟอสซิล (fossil) คำว่า fossil มีความหมายเดิมว่า เป็นของแปลกที่ขุดขึ้นมาได้จากพื้นดิน แต่ในปัจจุบันถูกนำมาใช้ในความหมายของซากหรือร่องรอยของสิ่งมีชีวิตที่ถูกเก็บรักษาไว้ ซากดึกดำบรรพ์มีหลายชนิด อาจเป็นสิ่งที่มีความคงทนยากต่อการทำลาย เช่น ฟัน กระดูก หรือ เปลือก แต่ในบางสภาวะ อาจมีการเก็บรักษาซากสัตว์ทั้งตัวให้คงอยู่ได้ เช่น ช้างแมมมอท ที่ไซบีเรีย การเปลี่ยนแปลงจากซากสิ่งมีชีวิตมาเป็นซากดึกดำบรรพ์นั้น เกิดได้ในหลายลักษณะ โดยที่เมื่อสิ่งมีชีวิตตายลง ส่วนต่างๆของสิ่งมีชีวิตจะค่อยๆถูกเปลี่ยน ช่องว่าง โพรง หรือรู ต่างๆในโครงสร้างอาจมีแร่เข้าไปตกผลึกทำให้แข็งขึ้น เรียกขบวนการนี้ว่าการกลายเป็นหิน (petrification) หรือ เนื้อเยื้อ ผนังเซลล์ และส่วนแข็งอื่นๆ ถูกแทนที่ด้วยแร่ โดยขบวนการแทนที่ (replacement) เปลือกหอยหรือสิ่งมีชีวิตที่จมอยู่ตามชั้นตะกอน เมื่อถูกละลายไปกับน้ำบาดาล จะเกิดเป็นรอยประทับอยู่บนชั้นตะกอน ซึ่งเรียกลักษณะนี้ว่า รอยพิมพ์ (mold) หากว่าช่องว่างนี้มีแร่เข้าไปตกผลึก จะได้ซากดึกดำบรรพ์ ในลักษณะที่เรียกว่ารูปหล่อ(cast) carbonization มักเป็นการเก็บรักษาซากดึกดำบรรพ์จำพวกใบไม้หรือสัตว์เล็กๆ ในลักษณะที่มีตะกอนเนื้อละเอียดมาปิดทับซากสิ่งมีชีวิต เมื่อเวลาผ่านไป ความดันที่เพิ่มขึ้น ทำให้ส่วนประกอบที่เป็นของเหลวและก๊าซถูกขับออกไป เหลือไว้แต่แผ่นฟิล์มบางๆของคาร์บอน หากว่าฟิล์มบางๆนี้หลุดหายไป ร่องรอยที่ยังหลงเหลืออยู่ในชั้นตะกอนเนื้อละเอียดจะเรียกว่า impression สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่มีลักษณะบอบบาง เช่นพวกแมลง การเก็บรักษาให้กลายเป็นซากดึกดำบรรพ์...

เมื่อสัตว์ดึกดำบรรพ์จะคืนชีพ

เมื่อสัตว์ดึกดำบรรพ์จะคืนชีพ

เมื่อสัตว์ดึกดำบรรพ์จะคืนชีพ นวัตกรรมด้าน DNA อาจคืนชีพไดโนเสาร์อีกครั้ง. ในนิทานเวตาลมีตำราชื่อ สังชีวนีวิทยา ที่สามารถชุบชีวิตคนจากเถ้ากระดูกได้ ซึ่งดูเหมือนเป็นเรื่องแฟนตาซีที่ไม่มีทางเป็นไปได้ ทว่าเทคโนโลยีด้านพันธุกรรมก้าวไปในทุกนาที ในขณะที่เรานั่งดื่มกาแฟยามเช้า อ่านหนังสือพิมพ์ไทยรัฐหน้านี้  อีกซีกโลกหนึ่งเหล่านักวิทยาศาสตร์ก็กำลังขะมักเขม้นอยู่ในห้องวิจัย การทำโคลนนิ่งหรือการปลุกชีพของเหล่าบรรดาสัตว์ที่สูญพันธุ์นั้นล้วนแต่เป็นผลพวงของการค้นพบรหัสของสารพันธุกรรม หรือที่เรารู้จักกันในชื่อว่า DNA นั่นเอง ไทยรัฐซันเดย์สเปเชียลโดยทีมงานนิตยสารต่วย’ตูนจะพาท่านไปทำความเข้าใจกับการโคลนนิ่ง รวมทั้งการคิดค้นวิธีนำ DNA ไปชุบชีวิตเหล่าสัตว์โลกดึกดำบรรพ์ที่สูญสิ้นสายพันธุ์ไปนานแล้ว DNA หรือสารพันธุกรรมคือตัวเก็บข้อมูลกำหนดคุณลักษณะทุกๆด้านของสิ่งมีชีวิตนั้นๆ ถ่ายทอดคุณลักษณะเฉพาะจากรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่งอย่างมีระบบแบบแผน มนุษย์เพิ่งมารู้จักมันเมื่อไม่นานนักโดยบาทหลวงชาวออสเตรียนาม เกรกเกอร์ เมนเดล เขาพบว่าถั่วลันเตารุ่นพ่อแม่สู่รุ่นลูกมีการถ่ายโอนพันธุกรรมอย่างเป็นระเบียบชัดเจน  ทว่าเรื่องเหล่านี้กว่าจะเห็นภาพชัดก็เมื่อ เจมส์ วัตสัน นักวิทยาศาสตร์อเมริกากับ ฟรานซิส คริก นักอณูชีววิทยาจากเคมบริดส์ ตีพิมพ์งานลงวารสารเมื่อ ค.ศ.1953 ว่าค้นพบโครงสร้างดีเอ็นเอ ซึ่งมีลักษณะเป็นเส้นคู่ขนานบิดเป็นเกลียวคล้ายบันได ทั้งสองต่อยอดเรื่องนี้มาจากนักทดลองอีกทีมหนึ่ง การค้นพบนี้นำมาซึ่งการพัฒนาอณูชีววิทยา (molecular biology) หรือวิชาที่ว่าด้วยการศึกษาโครงสร้างและการทำงานของสิ่งมีชีวิตในระดับโมเลกุล นักวิทยาศาสตร์ของสหรัฐฯใช้โครงสร้างทางพันธุกรรมของสัตว์หลากหลายสายพันธุ์มาประกอบการร่างแบบจำลองของสัตว์ดึกดำบรรพ์ จึงได้พบว่าบรรพบุรุษที่เก่าแก่ที่สุดของมนุษย์ที่สามารถสืบค้นได้ในปัจจุบันหน้าตาคล้ายหนู  เคยมีชีวิตอยู่หลังการล่มสลายในยุคไดโนเสาร์ ยิ่งนานวันเรื่องของสิ่งมีชีวิตทุกสายพันธุ์ก็ยิ่งคลี่คลายมากขึ้น  และเมื่อความก้าวหน้าด้าน DNAมากกว่านี้ คงจะให้คำตอบที่เราสงสัยกันมายาวนานว่าแท้ที่จริงแล้วมนุษย์มาจากไหน เริ่มต้นเผ่าพันธุ์ ณ จุดใด...

Dinosaur Games Of All Time

Dinosaur Games Of All Time

 Dinosaur Games Of All Time เกมส์ที่ 1 ARK: Survival Evolved  ต้อนรับการเข้าฉายของ Jurassic World และสำหรับคนชื่นชอบไดโนเสาร์เป็นพิเศษ ทางทีมงานที่กำลังอินกับเกมและหนังอยู่ เลยอยากเอามารีวิวเบื้องต้นให้เพื่อน ๆ ได้รู้จักกันนะครับ เผื่อใครดูหนังมาแล้วยังติดลมเหมือนผม ARK: Survival Evolved เป็นเกม Sandbox + Survival + Multiplayer ซึ่งผู้เล่นจะตื่นขึ้นมาบนเกาะร้างแห่งหนึ่ง พร้อมกางเกงในตัวเดียว ซึ่งไม่รู้ว่าเหตุใดตัวเราถึงมาอยู่บนเกาะนี้ได้ แต่มีหน้าที่เดียวเท่านั้นคือ หาทางมีชีวิตอยู่บนเกาะแห่งนี้ โดยตัวเกมจะมุ่งเน้นให้เราทำการสร้างของต่าง ๆ เช่น ขวาน, ธนู และ บ้าน เพื่อให้อาศัยอยู่บนเกาะแห่งนี้ แต่การจะใช้ชีวิตมันไม่ง่ายเลย เพราะตัวเราจะต้องเจอกับเหล่าสัตว์ร้าย,ไดโนเสาร์, ผู้เล่นที่ไม่เป็นมิตร ทีคอยมาขัดขวางหรือแย่งชิงทรัพยากรไปจากเรา พร้อมทั้งเราสามารถที่จะจับเหล่าไดโนเสาร์มาเป็นเพื่อน, คอยใช้งาน และเป็นบอร์ดี้การ์ดเฝ้าฐานให้กับเราได้อีกด้วย!! เกมส์ที่ 2 primal carnage extinction Circle 5 Studio และ Pub Games ได้เผยเกมส์ซู้ตติ้งออนไลน์ใหม่ Primal Carnage:...

อสูรสมุทรแห่งยุคไดโนเสาร์

อสูรสมุทรแห่งยุคไดโนเสาร์

อสูรสมุทรแห่งยุคไดโนเสาร์ นับแต่สมัยโบราณนานมาแล้ว ที่ท้องน้ำอันดำมืดของมหาสมุทรได้ทำให้มนุษย์เกิดจินตนาการถึงอสูรกายขนาดยักษ์ที่น่าหวาดกลัว ทว่าย้อนกลับไปในโลกยุคดึกดำบรรพ์เมื่อครั้งที่เหล่าไดโนเสาร์ครอบครองทั่วทั้งผืนแผ่นดินนั้น ท้องน้ำของมหาสมุทรก็เป็นที่อยู่ของเหล่าอสูรร้ายที่น่าหวาดหวั่นเช่นกัน นอกจากพวกไดโนเสาร์และเทโรซอร์หรือสัตว์เลื้อยคลานบินได้แล้ว ในมหายุคเมโสโซอิคยังมีสิ่งมีชีวิตอีกกลุ่มหนึ่งที่น่าเกรงขามไม่แพ้กัน นั่นคือ เหล่าสัตว์เลื้อยคลานทะเลทั้งหลาย สัตว์กลุ่มนี้มีวิวัฒนาการมาตั้งแต่ยุคเพอร์เมียนซึ่งเป็นยุคสุดท้ายของมหายุคพาลีโอโซอิค โดยในยุคนี้ สัตว์เลื้อยคลานบางชนิดที่หากินอยู่ใกล้กับแหล่งน้ำ ได้เริ่มกลับลงไปใช้ชีวิตในน้ำ ซึ่งสัตว์ชนิดแรกๆ ที่มีพฤติกรรมแบบนี้ก็คือ มีโสซอรัส มีโสซอรัส มีโสซอรัส ถือเป็นสัตว์เลื้อยคลานทะเลรุ่นแรกๆ พวกมันมีลักษณะทั่วไปคล้ายกับตะโขงโดยมีขากรรไกรที่ยาวเรียวและฟันแหลมยาวที่เรียงกันจนเต็มปาก ซึ่งอาจจะใช้สำหรับดักสัตว์จำพวกกุ้งตัวเล็กๆ และอาจจะมีหางที่แบนคล้ายครีบ รวมทั้งเท้าที่เป็นพังพืดสำหรับช่วยในการว่ายน้ำด้วย พวกสัตว์เลื้อยคลานทะเลในยุคเพอร์เมียนบางส่วน สามารถรอดจากการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ในช่วงสิ้นสุดของมหายุคพาลีโอโซอิคมาได้ พวกมันยังคงมีวิวัฒนาการต่อเนื่องในมหายุคเมโสโซอิคจนมีการแพร่กระจายชนิดพันธุ์อย่างกว้างขวาง ในช่วงเริ่มต้นของยุคไทรแอสสิคซึ่งเป็นยุคแรกของมหายุคเมโสโซอิค มีสัตว์เลื้อยคลานสองชนิดที่อาศัยอยู่ในทะเล นั่นคือ พวกพลาโคดอนท์ ที่มีลักษณะคล้ายกับกิ้งก่าทะเลตัวป้อมๆที่มีเกราะ ขณะที่บางชนิดก็ดูคล้ายกับเต่า กับ พวกโนโธซอรัส ที่มีลำตัวผอมยาวและอาจจะมีเท้าเป็นพังพืดที่ช่วยในการว่ายน้ำ พลาโคดอนท์ นอโธซอรัส เมื่อเข้าสู่ช่วงกลางยุคไทรแอสสิค ก็มีสัตว์เลื้อยคลานทะเลอีกพวกหนึ่งวิวัฒนาการขึ้นมา นั่นคือ พวกอิคธีโอซอร์ ซึ่งได้วิวัฒนาการจนมีรูปร่างคล้ายกับปลาโลมาและบางชนิดนั้นก็ยังมีขนาดใหญ่พอๆกับวาฬเสปิร์มซึ่งยาวเกือบยี่สิบเมตร สัตว์กลุ่มนี้นับเป็นพวกที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างสูงในช่วงปลายของยุคไทรแอสสิค อิคธีโอซอร์ ต่อมา เมื่อเข้าสู่จูราสสิค ก็ได้มีสัตว์เลื้อยคลานทะเลกลุ่มอื่นๆปรากฏขึ้น โดยสัตว์เหล่านี้ได้มีวิวัฒนาการจนแปรสภาพของขาทั้งสี่ให้กลายเป็นครีบเพื่อใช้เคลื่อนตัวในน้ำ อย่างเช่น พวกพลีซิโอซอร์ และ พวกโมซาโรซอร์ พวกพลิซิโอซอร์มีวัวัฒนาการมาจากพวกนอโธซอรัสในยุคไทรแอสสิก พวกมันมีลำตัวอ้วนใหญ่...

นักล่าเเห่งท้องนภา

นักล่าเเห่งท้องนภา

นักล่าเเห่งท้องนภาในยุค 65 ล้านปีก่อน ในยุคแห่งไดโนเสาร์ที่ยาวนานนับร้อยล้านปี ณ.ช่วงเวลาที่เหล่าไดโนเสาร์หลากหลายสายพันธุ์ครอบครองทั่วผืนแผ่นดิน และสัตว์เลื้อยคลานอสูรสมุทรนานาชนิดปกครองผืนน้ำ บนท้องฟ้าของโลกยุคนั้น คือ อาณาจักรของสัตว์บินได้ที่น่าเกรงขามซึ่งครอบครองท้องฟ้ามาก่อนหน้าที่นกตัวแรกจะปรากฏขึ้น เทโรซอร์จัดเป็นพวกสัตว์เลื้อยคลานดึกดำบรรพ์ซึ่งอยู่ร่วมยุคเดียวกันกับไดโนเสาร์และมีคนจำนวนมากที่มักจะเข้าใจผิด โดยเรียกพวกมันว่าไดโนเสาร์บิน แต่ในความจริงนั้น เทโรซอร์เป็นพวกสัตว์เลื้อยคลานบินได้ซึ่งถือเป็นคนละกลุ่มกับไดโนเสาร์ พวกเทโรซอร์มีปีกซึ่งมีลักษณะเป็นแผ่นหนังบางๆที่ยึดอยู่ระหว่างนิ้วทั้งสี่ที่ยืดยาวออกมา ซึ่งปีกลักษณะนี้เหมาะแก่การร่อนมากกว่าจะกระพือบินเหมือนอย่างนก นักวิทยาศาสตร์คิดว่า เทโรซอร์น่าจะลอยตัวอยู่บนท้องฟ้าได้โดยอาศัยอากาศร้อนช่วยพยุงปีกและลำตัว การที่พวกมันมีกระดูกกลวงและเบาทำให้ร่างกายของเทโรซอร์มีสภาพคล้ายกับเครื่องร่อน ทั้งนี้เทโรซอร์บางชนิดอาจจะมีขนบางๆ ปกคลุมร่างกายคล้ายกับค้างคาวด้วย ควตซัลโคแอทลัตท์ เทโรซอร์สามารถจำแนกได้เป็นสองกลุ่ม คือ แรมโฟรินคอยด์ (Rhamphorhynchoids) และ เทอโรแดคทิลลอยด์ (Pterodactyloids) กลุ่มแรมโฟรินคอยด์ เป็นเทโรซอร์จำพวกแรกที่ปรากฏตัวขึ้นบนโลก พวกมันเริ่มปรากฏขึ้นมาตั้งแต่กลางยุคไทรแอสสิค ลักษณะร่วมของเทโรซอร์ในกลุ่มนี้คือ มีหางยาวและปีกแคบ พวกแรมโฟรินคอยด์มีขนาดตัวไม่ใหญ่นักขนาดโดยทั่วไปไม่โตไปกว่านกอินทรีตัวใหญ่ๆสักเท่าไร เทโรซอร์ในกลุ่มนี้ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดี ได้แก่ แรมโฟรินคัสที่มีจงอยปากเรียวแหลม กับ ดิมอร์โฟดอนที่มีจงอยปากใหญ่และฟันแหลมคมเรียงเป็นแนว แรมโฟรินคัส ดิมอร์โฟดอน สำหรับเทโรซอร์ในกลุ่มเทอโรแดคทิลลอยด์นั้น มีวิวัฒนาการขึ้นมาในยุคจูราสสิค โดยพวกนี้จะมีลักษณะเด่นตรงหางสั้นและปีกกว้างซึ่งช่วยให้ควบคุมการบินร่อนได้ดีกว่าพวกแรมโฟรินคอยด์ ซึ่งเมื่อเข้าสู่ยุคครีตาเชียส พวกเทอโรแดคทิลลอยด์ก็ได้เข้าแทนที่พวกแรมโฟรินคอยด์และได้กระจายพันธุ์ออกไปอย่างกว้างขวางจนกลายเป็นเจ้าเวหาในยุคนี้ พวกเทอโรแดคทิลลอยด์มีชนิดพันธุ์ที่หลากหลายและขนาดที่แตกต่างกันไป โดยชนิดที่เล็กที่สุดอย่าง เทอโรแดคทิลลัส มีขนาดไม่โตไปกว่านกกระจอก ขณะที่พวกตัวใหญ่อย่าง ออนิโธไครัสและเทอราโนดอนนั้นจะมีขนาดพอๆกับเครื่องร่อน หรืออย่างเควตซัลโคแอทลัตท์ซึ่งจัดเป็นเทโรซอร์ที่ใหญ่ที่สุดนั้นอาจจะมีขนาดใหญ่เท่ากับเครื่องบินเล็กเลยทีเดียว เทอโรแดคทิลลัส...

ภาพยนตร์ที่เกี่ยวกับไดโนเสาร์

ภาพยนตร์ที่เกี่ยวกับไดโนเสาร์

คุณอาจจะเคยดูหนังที่เกี่ยวกับไดโนเสาร์มาหลายเรื่อง วันนี้เราจะมาเเนะนำหนังไดโนเสาร์น่าดูให้คุณได้รู้ เรื่องที่ 1 Dinosuar ของ Walt Disney Studios ค้นพบความอัศจรรย์บันเทิง ที่นำเทคโนโลยีสุดยอดของการสร้างภาพยนตร์ ด้วยการผสมผสานภาพที่ถ่ายจากสถานที่จริงเข้ากับการ์ตูนคอมพิวเตอร์ ในภาพยนตร์สุดตื่นตาเร้าระทึกใจ ไดโนเสาร์ คือภาพยนตร์ยิ่งใหญ่ ตื่นเต้นตระการตา กับเรื่องราวของไดโนเสาร์หลากพันธุ์ที่ต้องผจญภัยกับสิ่งท้าทาย ชีวิตพวกเขาตลอดกาลเดินทาง พวกเขาเรียนรู้ถึงความกล้าหาญ ความหวัง และการร่วมแรงร่วมใจกัน ทำให้พวกเขาสามารถเอาชนะอุปสรรคใหญ่น้อยทั้งหลายได้สำเร็จ ย้อนเวลาไป 65 ล้านปีสู่การผจญภัยในยุคไดโนเสาร์ครองโลก พบกับ อลาดาร์ ไดโนเสาร์พันธุ์อีกัวโนดอน ผู้พรากจากฝูงของเขาตั้งแต่อยู่ในไข่ โชคดีที่ถูกเลี้ยงดูโดยฝูงลิเมอร์ อันมีสมาชิกประกอบด้วยไซนี่เจ้าคารม และพลิโอผู้เมตตา เป็นต้น จนเมื่อห่าฝนอุกกาบาตพุ่งชนโลกและทำลายถิ่นอาศัยของพวกเขา อลาดาร์และครอบครัวลิเมอร์ของเขาจึงร่วมเดินทางพร้อมไดโนเสาร์พันธุ์ต่างๆ เพื่อค้นหาถิ่นที่วางไข่อันสงบสุขและอุดมสมบูรณ์  เรื่องที่ 2 walking with dinosaurs ด้วยเสียงพากย์ต้นฉบับระดับสุดยอดของจัสติน ลอง (Alvin and the Chipmunks) และ จอห์น เลกุยซาโม่ (Ice Age) จะพาคุณเดินทางสู่ยุคก่อนประวัติอันน่าตื่นตาตื่นใจ ที่คนทั้งครอบครัวจะได้สนุกร่วมกัน! ในยุคที่ไดโนเสาร์ครองโลก แพทชิ เจ้าแพกคิไรโนซอรัสน้อย...

Pages (3)123 »